วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education )

อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี : 20  กุมภาพันธ์  2560

เรียนครั้งที่ 4 เวลาเรียน 11:30 - 14:30

กลุ่ม 102 วันพุธ ห้องเรียน 34-301




การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.หัวเรื่องมาจาก
  • สื่งใกล้ๆตัวเด็ก
  • สิ่งที่เด็กสนใจ คือ โปรเจคแอปโพส
  • หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย คือ สาระที่เด็กควรเรียนรู้ ได้แก่
              1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
              2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
              3.ธรรมชาติรอบตัว
              4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

2.ทำ Mind Mapping
  • เป็นการแสดงสิ่งที่เด็กควรเรียนรู้ในหน่วยนั้นๆ เพื่อใหเสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก

3.หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ทฤษฎีการศึกษาได้กล่าวถึงความสำคัญของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วงปฐมวัยนั้นเป็นวัยที่เด็กเริ่มต้นพัฒนาการทั้งด้านร่างกายอารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยที่รับรู้และซึมซับประสบการณ์ ที่จะก่อให้เกิดความรู้ และยังเป็นความจำที่แปรเป็นจิตใต้สำนึกของเด็กเมื่อเติบโตขึ้นอีกด้วย
  • เพียเจต์ (Piaget) กล่าวว่าการจัดประสบการณ์ให้เด็กนั้น เด็กได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในภาวะสมดุล ฝึกทำกิจกรรมตามลำพังและการรวมกลุ่ม เด็กจึงได้เรียนรู้จากกันและกัน ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะนี้น่าจะทำให้เกิดความเข้าใจกันได้ดีกว่าการเรียนรู้จากครู เด็กได้มีประสบการณ์ตรง มีอิสระทางความคิด การแสดงออกและการสนทนาระหว่างเด็กด้วยกันจะทำให้เด็กสามารถเข้าใจกันได้เร็วกว่าครูเป็นผู้อธิบายหรือเล่าให้ฟัง
  • จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) กล่าวว่า การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญมากในการฝึกให้เด็กได้คิดแก้ปัญหา การแสดงออกอย่างอิสระ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์นั้นๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาร่วมด้วย เนื่องจากเด็กปฐมวัยกำลังมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา เด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อมีการเรียนการสอน และประสบการณ์ที่จัดให้เด็กเป็นประสบการณ์ตรง เด็กลงมือปฏิบัติเอง การจัดประสบการณ์โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลางจึงสำคัญมาก
  • อีริคสัน (Erikson) เชื่อว่าวัยเด็กเป็นวัยแห่งการเรียนรู้และการได้รับประสบการณ์ การจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีช่วยให้เด็กเกิดความมั่นใจในตนเอง มองโลกในแง่ดีและรู้จักไว้เนื้อเชื่อใจผู้อื่น ในช่วงวัยก่อนเรียน หรือวัยเล่น (อายุ 4-7 ปี) ซึ่งเป็นขั้นของความคิดริเริ่มและการตัดสินใจ หรือความรู้สึกผิด เชื่อว่าเด็กวัยนี้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีและมีความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ โดยผู้ใหญ่มีหน้าที่สนับสนุนให้เด็กได้พยายามแสดงความสามารถใหม่ๆ ในด้านสังคมเด็กเรียนรู้ในการเข้าสังคมจากการเล่นกับเพื่อน มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และเลียนแบบผู้อื่นเช่นพ่อแม่ หรือบุคคลใกล้ชิด ซึ่งพ่อแม่และผู้ใหญ่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีกับเด็ก เพื่อให้เด็กเรียนรู้ทักษะทางสังคม มีลักษณะนิสัยที่ดี รวมทั้งรู้สิ่งที่ถูกและผิด การปลูกฝังจริยธรรมโดยมีพ่อแม่ผู้ใหญ่เป็นต้นแบบที่ดี จะทำให้เด็กมีอุปนิสัยที่ดี ในด้านสติปัญญาเด็กวัยนี้อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รอบตัว มีความคิดริเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ และชอบถามในสิ่งที่ตนเองสงสัยใคร่รู้ ผู้ใหญ่ต้องให้โอกาสใน การพูดกระทำสิ่งต่างๆ จะทำให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และจินตนาการ เด็กจะสนุกในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ กล้าแสดงออก (วศินี อิศรเสนา ณ อยุธยา. 2547 : 13-14)
  • การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 3-5 ปี  นี้จะไม่จัดเป็นรายวิชา แต่จะจัดในรูปของการบูรณาการผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทั้งด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา กิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละวันอาจใช้ชื่อเรียกต่างกันออกไป แต่ทั้งนี้ประสบการณ์สำคัญที่จัดจะต้องครอบคลุมประสบการณ์สำคัญที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โดยได้กำหนดเป็นหลักการไว้ 5 ข้อ คือ
1. จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมอย่างต่อเนื่อง
2. เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบททางสังคมที่เด็กอาศัยอยู่
3. จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกระบวนการและผลผลิต
4. จัดการประเมินพัฒนาให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์
5. ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก

การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะการที่เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์จะทำให้เด็กได้ความรู้และความเข้าใจขึ้นภายในตัวของเด็ก ด้วยการให้โอกาสลงมือกระทำเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ด้วยวิธีการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อ ได้คิด แก้ปัญหา เกิดประสบการณ์ตรง ทำให้เด็กได้เข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้และวิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การปฏิบัติหรือปัญญาที่เกิดขึ้นภายในนี้ไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่นได้ในสถานการณ์ที่ต่างออกไปนอกชั้นเรียน 


4.การจัดสภาพแวดล้อม
  • การจัดสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำ เด็กจะเกิดการเรียนรู้



การเขียนแผนการจัดประสบการณ์


1.วัตถุประสงค์  
  • เป็นการกำหนดจุดประสงค์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อเรียนจบตามแผนการสอนแล้ว

2.สาระที่เด็กควรเรียนรู้   
  • เป็นความคิดรวบยอดหรือหลักการของเรื่องหนึ่งที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียน เมื่อเรียนตามแผนการสอนแล้ว

3.แนวคิด 
  • คอนเซ็ปของเรื่องที่จะสอน เช่น นมมีทั้งที่มาจากพืช และมาจากสัตว์ นมที่มาจากพืช ได้แก่ นมข้าวโพด นมถั่วเหลืง และนมที่มาจากสัตว์ ได้แก่ นมวัว นมแพะ ฯลฯ
4.ประสบการณ์สำคัญ
  • มาจากหลักสูตร ได้แก่ พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา
5.รายวิชา(การบูรณาการ)
  • กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์
  • กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์
กลุ่มนม

1.ปัญหา : จะทำอย่างไรให้นมเป็นไอศกรีมได้
2.ตั้งสมมติฐาน : เมื่อนำเกลือไปใส่ในน้ำแข็งนมจะแข็งตัวได้
3.ทดลอง : ใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต เมื่อนำเกลือไปใส่ในน้ำแข็ง นมจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง และเป็นไอศกรีมได้
4.สรุป : นำเกลือไปใส่ในน้ำแข็ง เกลือไปทำปฏิกิริยากับน้ำแข็ง ทำให้นมแข็งตัว

กลุ่มไข่

1.ปัญหา : จะทำอย่างไรให้ไข่กินได้
2.ตั้งสมมติฐาน : เมื่อนำไข่ไปนึ่ง ทอด ต้ม (ใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง) ไข่จะสุกและสามารถกินได้
3.ทดลอง : ใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต เมื่อนึ่ง ทอด ต้ม (ใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง) ไข่จะสุก จากของเหลวเป็นของแข็ง สีไข่ขาวเปลี่ยนจากสีใส เป็นสีขาว
4.สรุป : เมื่อนึ่ง ทอด ต้ม (ใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง) ไข่สุกและสามารถกินได้

กลุ่มดิน

1.ปัญหา : เลือกดินแบบไหนมาปลูกพืช
2.ตั้งสมมติฐาน : ถ้าเทน้ำลงไปในดินแต่ละชนิด ดินทรายน้ำไหลผ่านได้เร็ว ดินร่วนน้ำไหลช้ากว่าดินทราย และดินเหนียวน้ำไหลผ่านได้ยาก
3.ทดลอง : เทน้ำผ่านดินแต่ละชนิด (หาพืชที่ต้องการน้ำปานกลาง)
4.สรุป : ดินที่เหมาะแก่การปลูกพืช คือดินร่วน เนื่องจากน้ำไหลผ่านได้ปานกลาง ไม่เร็วหรือช้ามากเกินไป

6.แผนที่เครือข่ายใยแมงมุม
  • Web กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม




ทดสอบ สอนกิจกรรมเคลือนไหวและจังหวะ


หน่วยไข่ เรื่องประเภทของไข่ (วันจันทร์)




หน่วยไข่ เรื่องประเภทของดิน (วันจันทร์)




หน่วยไข่ เรื่องประเภทของนม (วันจันทร์)




            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น