วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education )

อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี : 06 กุมภาพันธ์  2560

เรียนครั้งที่ 3 เวลาเรียน 11:30 - 14:30

กลุ่ม 102 วันพุธ ห้องเรียน 34-301







ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย

  ในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ (2546:5) ได้กำหนดปรัชญาการศึกษา ไว้ดังนี้
                การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐาน คุณภาพชี้วัดให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม (กระทรวงศึกษาธิการ2546:3)

หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

       การจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยฉบับนี้ยึดหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ดังนี้ 

1.การสรางหลักสูตรที่เหมาะสม คือ เหมาะสมกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
2.การสรางสภาพแวดลอมที่เอื้อตอการเรียนรูของเด็ก เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
3. การจัดกิจกรรมที่สงเสริมพัฒนาการและการเรียนรูของเด็ก
4. การบูรณาการการเรียนรู คือการบูรณาการหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน
5.การประเมินพัฒนาการและการเรียนรูของเด็ก  ผูสอนจะตองสังเกตและประเมินทั้งการสอนของตนและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กกวาไดบรรลุตามจุดประสงคและเปาหมายที่วางไวหรือไม โดย
  • การสังเกต : เครื่องมือ คือ แบบสังเกต
  • การสนทนา : เครื่องมือ คือ แบบบันทึกการสนทนา
  • ผลงานเด็ก : เครื่องมือ คือ เกณฑ์การประเมิน : ดูคุณลักษณะตามวัย
*** รวมกัน เรียกว่า พอร์ตโฟลิโอ ***

6. ความสัมพันธ  ระหวางผูสอนกับครอบครัวของเด็ก เครื่องมือที่ใช้ คือ
  • โซเชียล
  • การสนทนา
  • การเยี่ยมบ้าน
  • การประชุม
  • จดหมาย
  • บอร์ดให้ความรู้ผู้ปกครอง

จุดหมาย 

    หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ และความ แตกตางระหว่างบุคคล ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปญญา เมื่อเด็กจบการศึกษา ระดบปฐมวัย เด็กจะบรรลุตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงคที่กําหนดไวในจุดหมาย 12 ขอ และในแตละชวงอายุผูสอนจะตองคํานึงถึงคุณลักษณะตามวัยของเด็กดวย มาตรฐานคุณลักษณะที่พีงประสงคในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 จะครอบคลุมพัฒนาการดาน รางกาย อารมณ จิตใจ สังคม และสติปญญา ดังนี้ 

1.รางกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี 
2.กลามเนื้อใหญและกลามเนื้อเล็กแข็งแรง ใชไดอยางคลองแคลวและประสานสัมพันธกัน 
3. มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข 
4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม 
5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกําลังกาย 
6. ชวยเหลือตนเองไดเหมาะสมกับวัย 
7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดลอม วัฒนธรรม และความเปนไทย 
8.อยูรวมกับผูอื่นไดอยางมีความสุขและปฏิบัติตนเปนสมาชิกที่ดีของสังคม ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข 
9. ใชภาษาสื่อสารไดเหมาะสมกับวัย 
10. มีความสามารถในการคิดและการแกปญหาไดเหมาะสมกับวัย 
11. มีจินตนาการและความคิดสรางสรรค 
12. มีเจตคติที่ดีตอการเรียนรู และมีทักษะในการแสวงหาความรู


คุณลักษณะตามวัย 

      คุณลักษณะตามวัยเปนความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติเมื่อเด็กมีอายุถึงวัย นั้นๆ พัฒนาการแต่ละวัยอาจจะเกิดขึ้นตามวัยมากนอยแตกตางกันไปในแตละบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู และประสบการณที่เด็กไดรับ ผู้สอนจำเปนตองทําความเขาใจ คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปีเพื่อนําไปพิจารณาจัดประสบการณใหเด็กแตละวัยไดอยาง ถูกตองเหมาะสม ขณะเดียวกันจะต้องสังเกตเด็กแตละคนซึ่งมีความแตกตางระหวางบุคคล เพื่อนํา ข้อมูลไปชวยพัฒนาเด็กใหเต็มตามความสามารถและศักยภาพ หรอชวยเหลือเด็กไดทันทวงที ในกรณีที่พัฒนาการของเด็กไมเปนไปตามวัย ผู้สอนจำเปนตองหาจุดบกพรองและรีบแกไขโดยจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็ก ถาเด็กมีพัฒนาการสูงกวาวัย ผู้สอนควรจัดกิจกรรมเพื่อสงเสริมใหเด็กมี พัฒนาการเต็มตามศักยภาพ

สาระที่ควรเรียนรู้
  1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
  2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล และสถานที่แวดล้อมเด็ก
  3. ธรรมชาติรอบตัว
  4. สิ่งต่างๆรอบตัว





กิจกรรมที่ทำในวันนี้

แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มๆละเท่าๆกัน และคิดหน่วยที่จะสอนกลุ่มละ 1 หน่วย
  • กลุ่มที่ 1 หน่วยนม






  • กลุ่มที่ 2 หน่วยไข่





  • กลุ่มที่ 3 หน่วยดิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น