วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education )

อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี : 27  มีนาคม  2560

เรียนครั้งที่ 8 เวลาเรียน 11:30 - 14:30

กลุ่ม 102 วันพุธ ห้องเรียน 34-301




สอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์ 

กิจกรรมเสริมประสบการณ์



หน่วยดิน   วันจันทร์
สอนโดย น.ส.พัชราวรรณ  บรรลือทรัพย์






แผนการจัดประสบการณ์  ชั้นอนุบาล  2/1 

กิจกรรมเสริมประสบการณ์   หน่วยนม  วันจันทร์

สอนโดย น.ส.เปมิกา   เปอะทองคำ





หน่วยสัตว์น่ารัก   วันจันทร์
สอนโดย น.ส.สายสุดา   ปักษากุล



แผนการจัดประสบการณ์      ชั้นอนุบาล  2/1  
กิจกรรมเสริมประสบการณ์   หน่วยนม  วันอังคาร
สอนโดย น.ส.นิศากร    อ่อนประทุม



วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education )

อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี : 13  มีนาคม  2560

เรียนครั้งที่ 7 เวลาเรียน 11:30 - 14:30

กลุ่ม 102 วันพุธ ห้องเรียน 34-301



นิทาน

เรื่อง  กับดักหนู



 









การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach



การสอนแบบโครงการจะมีกิจกรรม 5 วิธี

ในแต่ละระยะของการทำโครงการ ซึ่งกิจกรรมทั้ง 5 วิธี ประกอบด้วย
1.วิธีการอภิปราย ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่
2.วิธีการศึกษานอกสถานที่ เป็นกระบวนการที่สำคัญในการทำโครงการ  ในระยะแรก ครูอาจพาไปศึกษานอกห้องเรียน เรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน จะช่วยให้เด็กมีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้  ในหัวข้อเรื่องที่เด็กสนใจ โดยถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของการศึกษาค้นคว้k
3.วิธีการนำเสอนประสบการณ์เดิม เด็กได้ทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่สนใจ มีการแสดงความคิดเห็น อภิปรายประสบการณ์ที่เหมือนหรือต่างกันกับเพื่อนๆ ตลอดจนแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวเรื่องนั้นๆ ซึ่งเด็กสามารถเสนอประสบการณ์เดิมให้เพื่อนได้รู้โดยการวาดภาพ การเขียน การใช้สัญลักษณ์ การเล่นบทบาทสมมุติ เป็นต้น
4.วิธีสืบค้น การสอนแบบโครงการ เปิดโอกาสให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลที่หลากหลาย ตามหัวเรื่องที่สนใจ โดยเด็กสามารถสอบถามจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคลในครอบครัว เพื่อน วิทยากรในท้องถิ่นที่มีความรู้ในหัวเรื่อง หรือสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุด
5.วิธีการจัดแสดง สามารถทำในหลายรูปแบบ อาจจัดเป็นป้ายแสดงผลงานของเด็ก การแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ต่างๆ ที่ได้จากการสืบค้น
        กิจกรรมทั้ง 5 วิธีที่กล่าวมาข้างต้น จะปรากฎอยู่ในโครงการในระยะต่างๆ การสอนแบบโครงการ แบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการทบทวนความรู้และความสนใจของเด็ก
1.1 สร้าง/สังเกตความสนใจของเด็ก
1.2 ครูและเด็กกำหนดหัวเรื่องโครงการ
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ : ให้โอกาสเด็กค้นคว้าและมีประสบการณ์ใหม่
2.1 เด็กกำหนดปัญหาที่จะศึกษา
2.2 เด็กตั้งสมมติฐานเบื้องต้น
2.3 ทดสอบสมมุติฐาน
2.4 เชิญวิทยากร
2.5 ตั้งสมมติฐานใหม่
2.6 เด็กทดสอบสมมุติฐานใหม่
2.7 เด็กสรุปข้อความรู้
ระยะที่ 3 สรุปโครงการประเมิน สะท้อนกลับและแลกเปลี่ยนงานโครงการ
3.1 เด็กรวบรวมสรุป
3.2 เด็กสิ้นสุดความสนใจในหัวเรื่องโครงการ
3.3 เด็กนำเสนอผลงานโครงการ
       สรุปได้ว่า การสอนแบบโครงการ คือ การที่เด็กเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม ศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากความสนใจของเด็กเอง อย่างลุ่มลึกลงไปในรายละเอียดของเรื่องนั้น โดยเป็นกิจกรรมที่เน้นกระบวนการ การลงมือปฏิบัติ การใช้กระบวนการคิด และแก้ปัญหาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการอื่นๆ ด้วยตัวเด็กเอง จนค้นพบคำตอบและได้รับความรู้ที่ต้องการ ภายใต้การแนะนำช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนของครู
         
                                               
                                                                                                 
               การเรียนการสอนแบบโครงการจะตอบสนองการเรียนรู้ตาม

“ ทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory of Multiple Intelligences)ของโฮวาร์ด การ์ดเนอร์


 ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้

1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง

2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร

3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์
สายวิทย์ ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลป์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร วาดรูป ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น

4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม

5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง

6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ

7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใด
มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย

8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักสำรวจธรรมชาติ



อาจารย์ตรวจแผนก่อนสอบสอนครั้งที่ 2

 แผนการจัดประสบการณ์    ชั้นอนุบาล 2    กิจกรรม เสริมประสบการณ์

หน่วย นม    เรื่อง โทษของนม    ประจำวันศุกร์





วัตถุประสงค์
1.เด็กสามารถเรียนรู้ว่านมจะบูดเมื่อใด
2.เด็กบอกได้ว่าถ้าดื่มนมรสหวานมากเกินไปจะเป็นอย่างไร
3.เด็กสามารถหลีกเลี่ยงนมบูดได้
4.เด็กสามารถเรียนรู้การเก็บรักษานมไม่ให้บูดได้

สาระการเรียนรู้
  • สาระที่ควรเรียนรู้
1.นมจะบูดเมื่อใด
2.การดื่มนมบูดทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย
3.การดื่มนมรสหวานทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย
4.การเก็บรักษานมไม่ให้บูด
  • ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
- การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน

ด้านอารมณ์ -จิตใจ
-การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องราวและเหตุการณ์

ด้านสังคม
-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

ด้านสติปัญญา
-การแสดงความรู้สึกและคำพูด


กิจกรรมการเรียนรู้
  • ขั้นนำ
1.ร้องเพลงโทษของนมให้เด็กฟัง

         นม นม นม                 
   นมนั้นก็มีประโยชน์
  แต่ก็มีโทษไม่เบา              
  ถ้ามันบูดเน่าเราอย่ากิน
  ดูฉลากวันที่ให้เคยชิ้น        
  จำได้ไม่กินนมบูด

2.ให้เด็กร้องตามทีละท่อน

3.ร้องพร้อมกันทั้งเพลง

4.ครูใช้คำถามสนทนากับเด็กๆ
   - “เด็กๆ รู้ไหมทำไมนมถึงบูด
   - “เด็กๆ เคยกินนมบูดไหม
   - “เด็กๆ รู้ไหมว่าถ้ากินนมบูดแล้วจะเป็นอย่างไร 
   -“เด็กๆ คนไหนชอบกินนมรสหวาน
   -“เมื่อเด็กๆ ดื่มนมรสหวานมากเกินไป ฟันของเด็กๆจะเป็นอย่างไร
  • ขั้นสอน
5.นำรูปโทษของนมมาให้เด็กๆดู ว่ามีอะไรบ้าง และอธิบายเกี่ยวกับโทษของนม ว่าเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง และวิธีการเก็บรักษาไม่ให้นมบูด

6.ให้เด็กๆ ออกมาติดภาพบนแผ่นชาร์ตจับคู่สาเหตุที่ทำให้เกิดโทษของนม
  • ขั้นสรุป
7.สรุปตามแผ่นชาร์ต

8.สรุปโทษของนม และสาเหตุที่ทำให้เกิดโทษของนม ว่าถ้าดื่มนมบูดแล้วจะเป็นอย่างไร ดื่มนมรสหวานมากเกินไปจะเป็นอย่างไร และการเก็บรักษาไม่ให้นมบูด


สื่อแหล่งเรียนรู้
1.ชาร์ตเพลงโทษของนม
2.รูปประกอบโทษของนม
3.ชาร์ตโทษของนม และสาเหตุที่ทำให้เกิดโทษของนม



การวัดและประเมินผล
การสังเกตและบันทึกผล
1.การสนทนาและตอบคำถาม
2.การทำกิจกรรม



วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education )

อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี : 06  มีนาคม  2560

เรียนครั้งที่ 6 เวลาเรียน 11:30 - 14:30

กลุ่ม 102 วันพุธ ห้องเรียน 34-301




เพลงผึกการใช้สมองเป็นฐาน


เพลง   ศูนย์ สอง ห้า สิบ






เพลง จับหัว จับหู จับไหล่




เพลง อย่าเกียจคร้าน






เพลง กรรไกร ไข่ ผ้าไหม






เพลง ตบมือ ตบตัก ตบไหล่






เพลง แก้ว กะลา ขัน โอ่ง และ กรรไกร ไข่ ผ้าใหม






ตบมือเป็นจังหวะ






เต้นประกอบเพลง"ปรบมือ 5ครั้ง"





ภาพการทำกิจกรรมในห้องเรียน







อาจารย์ตรวจแผนก่อนสอบสอน

 แผนการจัดประสบการณ์    ชั้นอนุบาล 2    กิจกรรม เสริมประสบการณ์

หน่วย นม    เรื่อง โทษของนม    ประจำวันศุกร์    





วัตถุประสงค์
1.เด็กสามารถเรียนรู้ว่านมจะบูดเมื่อใด
2.เด็กบอกได้ว่าถ้าดื่มนมรสหวานมากเกินไปจะเป็นอย่างไร
3.เด็กสามารถหลีกเลี่ยงนมบูดได้
4.เด็กสามารถเรียนรู้การเก็บรักษานมไม่ให้บูดได้

สาระการเรียนรู้
  • สาระที่ควรเรียนรู้
1.นมจะบูดเมื่อใด
2.การดื่มนมบูดทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย
3.การดื่มนมรสหวานทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย
4.การเก็บรักษานมไม่ให้บูด
  • ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
- การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน

ด้านอารมณ์ -จิตใจ
-การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องราวและเหตุการณ์

ด้านสังคม
-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

ด้านสติปัญญา
-การแสดงความรู้สึกและคำพูด


กิจกรรมการเรียนรู้
  • ขั้นนำ
1.ร้องเพลงโทษของนมให้เด็กฟัง
      นม นม นม                 
   นมนั้นมีโทษมากมาย
  บูดเสียชั่งอันตราย              
  ทำให้ร่างกายของเรานั้น
  ปวดท้องขึ้นมาแบบฉับพลัน      
  ต้องรีบกินกันให้ไว

2.ให้เด็กร้องตามทีละท่อน

3.ร้องพร้อมกันทั้งเพลง

4.ครูใช้คำถามสนทนากับเด็กๆ
   - “เด็กๆ รู้ไหมทำไมนมถึงบูด
   - “เด็กๆ เคยกินนมบูดไหม
   - “เด็กๆ รู้ไหมว่าถ้ากินนมบูดแล้วจะเป็นอย่างไร
   -“เด็กๆ คนไหนชอบกินนมรสหวาน
   -“เมื่อเด็กๆ ดื่มนมรสหวานมากเกินไป ฟันของเด็กๆจะเป็นอย่างไร
  • ขั้นสอน
5.นำรูปโทษของนมมาให้เด็กๆดู ว่ามีอะไรบ้าง และอธิบายเกี่ยวกับโทษของนม ว่าเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง และวิธีการเก็บรักษาไม่ให้นมบูด

6.ให้เด็กๆ ออกมาติดภาพบนแผ่นชาร์ตจับคู่สาเหตุที่ทำให้เกิดโทษของนม
  • ขั้นสรุป
7.สรุปตามแผ่นชาร์ต

8.สรุปโทษของนม และสาเหตุที่ทำให้เกิดโทษของนม ว่าถ้าดื่มนมบูดแล้วจะเป็นอย่างไร ดื่มนมรสหวานมากเกินไปจะเป็นอย่างไร และการเก็บรักษาไม่ให้นมบูด


สื่อแหล่งเรียนรู้
1.ชาร์ตเพลงโทษของนม
2.รูปประกอบโทษของนม
3.ชาร์ตโทษของนม และสาเหตุที่ทำให้เกิดโทษของนม


การวัดและประเมินผล
การสังเกตและบันทึกผล
1.การสนทนาและตอบคำถาม

2.การทำกิจกรรม


* เปลี่ยนเนื้อเพลง โทษของนม  *

              นม นม นม                 
    นมนั้นก็มีประโยชน์
               แต่ก็มีโทษไม่เบา              
         ถ้ามันบูดเน่าเราอย่ากิน

               ดูฉลากวันที่ให้เคยชิ้น        
จะได้ไม่กินนมบูด