วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education )

อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี : 06 กุมภาพันธ์  2560

เรียนครั้งที่ 3 เวลาเรียน 11:30 - 14:30

กลุ่ม 102 วันพุธ ห้องเรียน 34-301







ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย

  ในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ (2546:5) ได้กำหนดปรัชญาการศึกษา ไว้ดังนี้
                การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐาน คุณภาพชี้วัดให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม (กระทรวงศึกษาธิการ2546:3)

หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

       การจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยฉบับนี้ยึดหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ดังนี้ 

1.การสรางหลักสูตรที่เหมาะสม คือ เหมาะสมกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
2.การสรางสภาพแวดลอมที่เอื้อตอการเรียนรูของเด็ก เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
3. การจัดกิจกรรมที่สงเสริมพัฒนาการและการเรียนรูของเด็ก
4. การบูรณาการการเรียนรู คือการบูรณาการหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน
5.การประเมินพัฒนาการและการเรียนรูของเด็ก  ผูสอนจะตองสังเกตและประเมินทั้งการสอนของตนและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กกวาไดบรรลุตามจุดประสงคและเปาหมายที่วางไวหรือไม โดย
  • การสังเกต : เครื่องมือ คือ แบบสังเกต
  • การสนทนา : เครื่องมือ คือ แบบบันทึกการสนทนา
  • ผลงานเด็ก : เครื่องมือ คือ เกณฑ์การประเมิน : ดูคุณลักษณะตามวัย
*** รวมกัน เรียกว่า พอร์ตโฟลิโอ ***

6. ความสัมพันธ  ระหวางผูสอนกับครอบครัวของเด็ก เครื่องมือที่ใช้ คือ
  • โซเชียล
  • การสนทนา
  • การเยี่ยมบ้าน
  • การประชุม
  • จดหมาย
  • บอร์ดให้ความรู้ผู้ปกครอง

จุดหมาย 

    หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ และความ แตกตางระหว่างบุคคล ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปญญา เมื่อเด็กจบการศึกษา ระดบปฐมวัย เด็กจะบรรลุตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงคที่กําหนดไวในจุดหมาย 12 ขอ และในแตละชวงอายุผูสอนจะตองคํานึงถึงคุณลักษณะตามวัยของเด็กดวย มาตรฐานคุณลักษณะที่พีงประสงคในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 จะครอบคลุมพัฒนาการดาน รางกาย อารมณ จิตใจ สังคม และสติปญญา ดังนี้ 

1.รางกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี 
2.กลามเนื้อใหญและกลามเนื้อเล็กแข็งแรง ใชไดอยางคลองแคลวและประสานสัมพันธกัน 
3. มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข 
4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม 
5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกําลังกาย 
6. ชวยเหลือตนเองไดเหมาะสมกับวัย 
7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดลอม วัฒนธรรม และความเปนไทย 
8.อยูรวมกับผูอื่นไดอยางมีความสุขและปฏิบัติตนเปนสมาชิกที่ดีของสังคม ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข 
9. ใชภาษาสื่อสารไดเหมาะสมกับวัย 
10. มีความสามารถในการคิดและการแกปญหาไดเหมาะสมกับวัย 
11. มีจินตนาการและความคิดสรางสรรค 
12. มีเจตคติที่ดีตอการเรียนรู และมีทักษะในการแสวงหาความรู


คุณลักษณะตามวัย 

      คุณลักษณะตามวัยเปนความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติเมื่อเด็กมีอายุถึงวัย นั้นๆ พัฒนาการแต่ละวัยอาจจะเกิดขึ้นตามวัยมากนอยแตกตางกันไปในแตละบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู และประสบการณที่เด็กไดรับ ผู้สอนจำเปนตองทําความเขาใจ คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปีเพื่อนําไปพิจารณาจัดประสบการณใหเด็กแตละวัยไดอยาง ถูกตองเหมาะสม ขณะเดียวกันจะต้องสังเกตเด็กแตละคนซึ่งมีความแตกตางระหวางบุคคล เพื่อนํา ข้อมูลไปชวยพัฒนาเด็กใหเต็มตามความสามารถและศักยภาพ หรอชวยเหลือเด็กไดทันทวงที ในกรณีที่พัฒนาการของเด็กไมเปนไปตามวัย ผู้สอนจำเปนตองหาจุดบกพรองและรีบแกไขโดยจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็ก ถาเด็กมีพัฒนาการสูงกวาวัย ผู้สอนควรจัดกิจกรรมเพื่อสงเสริมใหเด็กมี พัฒนาการเต็มตามศักยภาพ

สาระที่ควรเรียนรู้
  1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
  2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล และสถานที่แวดล้อมเด็ก
  3. ธรรมชาติรอบตัว
  4. สิ่งต่างๆรอบตัว





กิจกรรมที่ทำในวันนี้

แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มๆละเท่าๆกัน และคิดหน่วยที่จะสอนกลุ่มละ 1 หน่วย
  • กลุ่มที่ 1 หน่วยนม






  • กลุ่มที่ 2 หน่วยไข่





  • กลุ่มที่ 3 หน่วยดิน

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education )

อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี : 23 มกราคม 2560

เรียนครั้งที่ 2 เวลาเรียน 11:30 - 14:30

กลุ่ม 102 วันพุธ ห้องเรียน 34-301







การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย

        ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากทั้งการวิจัยและการวิเคราะห์ของวงการวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมองและการเรียนรู้ของเด็ก มีประเด็นที่เด่นชัดว่าการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยทำให้ภาวะของสมองเหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ ประเด็นสำคัญที่ได้ประมวลมาจากบทความต่างๆ ที่นัยพินิจ คชภักดี (2548) ได้นำเสนอ มีแนวคิดที่เป็นสาระหลักที่ควรนำมาพิจารณาในการจัดสภาพแวดล้อม ดังนี้

  • สมองเป็นอวัยวะที่มีความจำเฉพาะตัว และเป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งแวดล้อมต่างๆ จนเกิดเป็นความแตกต่างและหลากหลายของสมองที่สั่งสมมาตลอดชั่วชีวิต
  • การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อสมองเผชิญกับความเครียดและความรู้สึกผ่อนคลายในปริมาณที่สมดุลกัน คือ การตื่นตัวแบบผ่อนคลาย ถ้าครูจะนำไปปฏิบัติก็ต้องสร้างบรรยากาศของห้องเรียน ไม่ใช่ให้ปลอดภัยเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำให้เกิดประกาย ของความรู้สึกกระหายใคร่รู้
  • การปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมองกับสิ่งแวดล้อมทำให้ต้องตระหนักว่ายิ่งมีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์เท่าใด ก็จะทำให้สมองเกิดการเรียนรู้มากขึ้นเท่านั้น
  • สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์จะส่งผลให้สมองมีการเชื่อมโยงของระบบประสาทเพิ่มขึ้นถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ทั้งในช่วงแรกและช่วงหลังของชีวิต ดังนั้นสภาพแวดล้อมของคนเราจึงต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความหลากหลาย
  • การเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับการหายใจ เพียงแต่การเรียนรู้ถูกยับยั้ง หรือส่งเสริมด้วยปัจจัยบางอย่างได้
  • การเชื่อมโยงของระบบประสาทขึ้นอยู่กับปัจจัยของสิ่งแวดล้อม นั่นคือ ลักษณะของโรงเรียน กับสิ่งที่พบในชีวิตประจำวันด้วย
  • การควบคุมความเครียด โภชนาการ การออกกำลังกาย และการผ่อนคลาย รวมทั้งการบริหารสุขภาพในรูปแบบอื่นๆ จะต้องเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาถึงความเหมาะกับการเรียนรู้ด้วย
  • เด็กปกติที่มีอายุเท่ากัน อาจมีอายุทางพัฒนาการของทักษะพื้นฐานแตกต่างกันได้ถึงห้าปี ฯลฯ

การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
                การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนให้กับเด็กปฐมวัย ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
                1. การจัดวางวัสดุควร จัดวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น ครุภัณฑ์ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัยและพัฒนาการ  เพื่อให้เด็กสามารถใช้หรือทำกิจกรรมได้สะดวกด้วยตนเอง  โดย วัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น และครุภัณฑ์ ที่จัดให้สำหรับเด็กปฐมวัยมีหลากหลาย เช่น  โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่ง กระดานขายของ บอร์ดติดผลงาน ตู้เก็บของ ที่แขวนถ้วย         ที่แขวนผ้าเช็ดหน้า ที่เก็บเครื่องนอน ห้องน้ำ ห้องส้วม ที่ล้างมือ ประตู หน้าต่าง สื่อ เครื่องเล่น เป็นต้น
                2. วัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น ครุภัณฑ์  ควรให้มีขนาดเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
                3. การจัดพื้นที่ในห้องเรียนควรจัดให้เหมาะสม   เลือกที่ตั้งครุภัณฑ์ อุปกรณ์ต่างๆ  และมุมประสบการณ์     โดยคำนึงถึง
                    -  ทิศทางลมเหมาะสม และแสงสว่างเพียงพอต่อการทำกิจกรรม
                    -  มีแสงแดดส่องเหมาะสม ไม่รบกวนสายตาเด็กขณะปฏิบัติกิจกรรม
                    -  สร้างบรรยากาศให้ร่มรื่น
                    -  ทุกจุดของห้องควรให้มองเห็นได้โดยรอบ
                    -  จัดวาง/ตั้ง ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ ที่สะดวกต่อการปฏิบัติกิจกรรม
                4.  สภาพแวดล้อมในห้องควรมีความปลอดภัย  โดย
                    -  พื้นห้องควรโล่ง  กว้าง  มีบริเวณนุ่ม  มีบริเวณที่ตั้งอุปกรณ์  สื่อ เครื่องเล่น
                    -  ตรวจความเรียบร้อยของวัสดุ อุปกรณ์ สื่อและเครื่องเล่นหากชำรุดต้องรีบซ่อมแซมโดยเร็ว
                    -  กำหนดขอบเขตของมุมประสบการณ์ให้เด็กรู้
                    -  หน้าต่าง  ครุภัณฑ์ต่างๆ  ไม่ควรทำด้วยกระจก
                    -  ดูแลบริเวณทั่วไปให้ปลอดภัยจากสัตว์ แมลง พืช และสารเคมีที่มีพิษ
                    -  ครุภัณฑ์ โต๊ะ เก้าอี้ ไม่ควรเป็นมุมแหลมที่เป็นอันตราย

การจัดแสดงผลงานและการเก็บของ ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
                    -  จัดให้มีที่แสดงผลงานเสนอภาพเขียน  หรืองานหัตถกรรมเด็กๆ
                    -  จัดที่แสดงให้น่าสนใจและสดชื่น
                    -  ให้เด็กเห็นของแปลกๆ ใหม่ๆ ที่เด็กไม่เคยเห็น
                    -  ส่งเสริมให้เด็กๆ รู้จักเลือกสรรว่าจะทำอะไร จัดแสดงอะไร ฯลฯ
                    -  กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น
                    -  สอนให้รู้จักจัดของเป็นกลุ่ม และเลือกของออกมาใช้ตามความต้องการ
                    -  สร้างนิสัยในการเก็บของให้เป็นที่เป็นทาง


การจัดมุมเสริมทักษะ และการพัฒนาเด็ก (มุมประสบการณ์)
           มุมเสริมทักษะและการพัฒนาการเด็กหรือมุมประสบการณ์  เป็นสถานที่จัดไว้ในห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้เล่นสื่อและเครื่องเล่นประเภทต่างๆ  โดยมุมเสริมทักษะและการพัฒนาการเด็ก (มุมประสบการณ์) จะมีสื่อและเครื่องเล่นจัดไว้ให้เด็กได้เล่น ซึ่งแต่ละมุมประสบการณ์จะมีลักษณะแตกต่างกัน ภายในห้องเรียนควรจัดมุมประสบการณ์ให้เด็กเล่นอย่างน้อย  5  มุมประสบการณ์  ทั้งนี้  ควรจัดมุมสงบกับมุมที่ส่งเสียงดัง ไว้ห่างกัน  มุมที่เด็กต้องใช้สมาธิในการเล่นหรือทำกิจกรรมควรอยู่ใกล้กัน  มุมที่เล่นแล้วทำให้เกิดเสียงดังก็ควรอยู่ใกล้กัน เช่น มุมหนังสือกับ      มุมเกมการศึกษาอยู่ใกล้กันได้   มุมศิลปะกับมุมบล็อกอยู่ใกล้กัน  เป็นต้น
 มุมที่จัดให้เด็กได้เล่นมีดังต่อไปนี้
                1.  มุมบ้าน มุมร้านค้า มุมวัด มุมหมอ มุมเกษตรกร ฯลฯ
                     จัดเพื่อให้เด็กได้เล่นในสิ่งที่ตนชอบ เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของบุคคลต่างๆ ในครอบครัว สังคม  สิ่งที่      จะได้ควบคู่กันมา  คือ  การใช้ภาษา   การปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน  การพัฒนาทางอารมณ์  สังคม  และสติปัญญา
                สื่ออุปกรณ์ที่จัดในมุมนี้  ได้แก่  เครื่องครัว เครื่องใช้ในบ้าน  เช่น  เสื่อ หมอน กระจก ตุ๊กตา เสื้อผ้าตุ๊กตา  เครื่องแบบของคนอาชีพต่างๆ  เช่น หมอ ตำรวจ ทหาร เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ  เช่น  กระบุง ตะกร้า ไม้คาน เครื่องมือจับปลา รองเท้า และเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับเด็กแสดงบทบาทสมมติ  อุปกรณ์เหล่านี้ควรทำชั้นวางหรือจัดวางไว้ในลังไม้ ลังกระดาษ แยกเป็นหมวดหมู่  ไม่ควรใช้ของที่ทำด้วยแก้ว กระเบื้องหรือพลาสติกที่ใช้เป็นอันตรายกับเด็ก
                2.  มุมหนังสือ
                     แม้จะไม่มีการสอนอ่านเขียน  สำหรับเด็กระดับปฐมวัยแต่การหาภาพสวยๆ  นิทานภาพมาจัดวางไว้ย่อมเป็นสิ่งจูงใจให้แก่เด็กได้มาจับต้องเปิดดู  เป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านไปโดยไม่รู้ตัว  สิ่งประกอบสำหรับมุมนี้คือ  เสื่อ หมอน รูปทรงต่างๆ  จะช่วยจูงใจให้เด็กอยากนั่งนอนอ่านในท่วงท่าสบายๆ  ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน  ทั้งที่อ่านไม่ได้แต่ก็จะสนุกสนานเพลิดเพลินกับรูปสวยๆ  เหล่านั้น
               3.  มุมธรรมชาติศึกษาหรือมุมวิทยาศาสตร์
                     เป็นมุมที่เด็กจะศึกษาหาความรู้ด้วยการสังเกตทดลองด้วยตนเอง  จึงต้องจัดหาอุปกรณ์  เช่น  เครื่องชั่ง ตัวอย่างพืช เปลือกหอย สำลี กระดาษ หินชนิดต่างๆ ฯลฯ  นำมาจัดวางไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้เด็กค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
                4.  มุมบล็อก
                     บล็อก  หมายถึง  แท่งไม้หรือวัสดุทดแทนอย่างอื่น  เช่น  กล่องชนิดต่างๆ  บล็อกแต่ละชุดอาจมีแบบและจำนวนแตกต่างกัน  บางชุดมีขนาดเล็ก  มีจำนวนเพียง  20  ชิ้นบางชุดก็มีขนาดใหญ่  จำนวนอาจมากถึงกว่า    ร้อยชิ้น  บล็อกเหล่านี้อาจทำขึ้นเองได้จากเศษไม้นำมาตกแต่งให้เป็นรูปทรง  ข้อควรระวังคือต้องขัดให้เรียบร้อย  ไม่มีเสี้ยนแยกเก็บใส่กล่องหรือลังไว้  ถ้าไม่ต้องการเกิดเสียงรบกวนเวลาเล่นก็หาเสื่อปูรองรับมุมนี้ไว้  พอที่เด็กจะนั่งเล่นได้คราวละ  3-4  คน  และควรให้ห่างจากมุมหนังสือที่ต้องการความสงบเงียบ
                5.  มุมเกมการศึกษา
                     พลาสติกสร้างสรรค์  เครื่องเล่นสัมผัส  ในมุมนี้เป็นมุมที่ฝึกเด็กในเรื่องการรับรู้ทางสายตา  การคิดหาเหตุผล  และการทำงานสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ  ประกอบไปด้วยเกมการศึกษา  พลาสติกสร้างสรรค์  กล่องหยอดบล็อก  ลูกปัด  สำหรับร้อยอาจมีแบบร้อยไว้ให้เด็กด้วย
                6.  มุมเครื่องเล่นสัมผัส
                     มุมนี้เป็นมุมที่ฝึกเด็กในเรื่องการรับรู้ทางสายตา การสังเกต การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ ภาษา การคิดหาเหตุผล ความคิดสร้างสรรค์ และการทำงานสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ ประกอบไปด้วยสื่อ เครื่องเล่นต่างๆ  เช่น  พลาสติกสร้างสรรค์ กล่องหยอดบล็อก ลูกปัดสำหรับร้อย ฯลฯ
                7.  กระบะทราย
                     กระบะทรายในมุมห้องเรียน  จัดไว้เพื่อให้เด็กมีโอกาสตกแต่งกระบะทรายเกี่ยวกับเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก  เช่น  เรื่องบ้านจัดแบ่งเป็นส่วน  ส่วนที่เป็นบ้าน ต้นไม้ รั้ว คน สัตว์เลี้ยง จึงต้องจัดหาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องไว้  ควรวางกระบะให้อยู่ในระดับที่เด็กจะยืนเล่นได้  และเตรียมอุปกรณ์ไว้ให้  เช่น  ถ้วยตวง ขวด ช้อน ตัวสัตว์พลาสติก ต้นไม้จำลอง ฯลฯ  เพื่อให้เด็กนำมาจัดตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง

เทคนิคการบริหารจัดการห้องเรียน
1)เทคนิกการจัดแถวครึ่งวงกลม
  • ให้เด็กเข้าแถวตอต 3แถว
  • คุณครูตั้งชื่อให้แต่ละแถว เช่น กลุ่มสตรอเบอรี่ กลุ่มกล้วย และกลุ่มส้ม
  • ร้องเพลงจัดเป็นครึ่งวงกลม เพลง "ยืนให้ตัวตรง"
เพลง ยืนให้ตัวตรง

ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ

แขน...(ซ้าย ,ขวา) อยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหล่ะ
  • ครูให้กลุ่มสตรอเบอรี่หันไปทางซ้าย กลุ่มส้มหันมาทางขวา
  • กลุ่มที่เหลือ คือกลุ่มกล้วย ให้เดินเป็นแถวไปจับมือเพื่อนกลุ่มสตรอเบอรี่ และกลุ่มส้ม

2)เทคนิคการจัดมุมประสบการณ์

เราจัดมุมประสบการณ์ เพื่อ
  • ให้เด็กมีโอกาศได้เลือกตักสินใจ เพื่อเด็กจะได้มีประสบการณ์จริงๆ และเด็กเกิดการเรียนรู้
  • เมื่อมีประสบการณ์เด็กจะเกิดการเรียนรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สมอง และปรับโครงสร้าง
  • แต่ละมุมต้องมีที่เก็บของอย่างชัดเจน มีสัญลักษณ์ และเก็บได้ง่าย
  • ให้เด็กรู้จักเก็บรักษาของและเก็บของให้ถูกที่
  • จัดระเบียบ แยกแยะ และจัดหมวดหมู่
3)เทคนิคให้เด็กเก็บของเข้าที่
  • ร้องเพลง
เพลง เก็บของ

เก็บ เก็บ เก็บ มาช่วยกันเก็บของที

เร็วคนดี มาเก็บเข้าที่เร็วไว


เพลง เก็บของเล่น

ของเล่นเก็บให้เป็นระเบียบ

จะเรียบร้อยโดยฉับพลัน

พวกเราจะต้องช่วยกัน

ทุกวันเก็บของเล่นให้ดี


การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
  • นั่งเป็นกลุ่มกับพื้นหรือโต๊ะ
  • จัดเป็นฐาน
  • เมื่อเด็กทำกิจกรรมฐานแรกเสร็จแล้ว ให้ครูจัดเก้าอี้ไว้เผื่อฐานละ 1 ตัว เพื่อสับเปลี่ยนไปฐานอื่น
  • วางเก้าอี้ให้เด็กเดินเข้าออกได้อย่างสะดวก

การจัดกิจกรรมกลางแจ้ง
  • ร้องเพลงเรียกเด็กให้เด็กเข้าแถว
เพลง เข้าแถว

เข้าแถว เข้าแถว       อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน

อย่ามัวแฉเฉือน                เดินตามเพื่อนให้ทัน

ระว้งจะเดินชนกัน              เข้าแถวพลันว่องไว


เพลง รถไฟ

รถไฟไม่ใช่รถเจ็ก    มันทำด้วยเหล็ก ฉึกฉักๆ

รถเจ็กไม่ใช่รถไฟ    มันทำด้วยไม้ ก็อกแก็งๆ

  • ในกรณีเด็กนั่งเล่นอยู่ในห้อง ให้ร้องเพลงเรียกเด็กออกมารวม

เพลง เด็กผู้หญิงอยู่ไหน

 เด็กผู้หญิงอยู่ไหน (ซ้ำ)      อยู่นี่จ๊ะ อยู่นี่จ๊ะ

สุขสบายดีหรือไร    สุขสบายทั้งกายและใจ

ไปก่อนนะ   สวัสดี


เพลง เด็กผู้ชายอยู่ไหน

 เด็กผู้ชายอยู่ไหน (ซ้ำ)      อยู่นี่ครับ อยู่นี่ครับ

สุขสบายดีหรือไร    สุขสบายทั้งกายและใจ

ไปก่อนนะ   สวัสดี


4)เทคนิคการสงบเด็ก
  • ท่องคำคล้องจอง
เอามือวางไว้ที่หัว  ชั่งน่ากลัวน่ากลัวจริงๆ

เอามือวางไว้ที่ไหล่    ชั่งไฉไลไฉไลจริงๆ

เอามือวางไว้ที่อก         ชั่งตลกตลกจริงๆ

เอามือวางไว้ที่ตัก      ชั่งน่ารักน่ารักจริงๆ

  • ร้องเพลง
เพลง นั่งตัวตรงตรง

นั่งตัวตรงตรง    วางมืลงไว้บนตัก

เด็กๆที่น่ารัก       ต้องรู้จักตั้งใจฟัง

ต้องรู้จักตั้งใจดู  ต้องรู้จักฟังคุณครู



เพลง กล้วยปิ้ง

กล้วยปิ้ง กล้วยปิ้ง กล้วยปิ้ง

ยิ่งปิ้งก็ยิ่งอร่อย

ใส่น้ำ ใส่เกลือ นิดหน่อย (ซ้ำ)

อร่อย อร่อย กล้วยปิ้ง กล้วยปิ้ง


เพลง ตบมือแปะแปะ

ตบมือแปะแปะ     เรียกแพะเข้ามา

แพะไม่มา      เอามือปิดปากรูดซิบ


เพลง หากพวกเรากำลังสบาย

หากพวกเรากำลังสบาย จงปรบมือพลัน (ซ้ำ)

หากพวกเรากำลังสบาย จงยักไหล่พลัน (ซ้ำ)

หากพวกเรากำลังสบาย จงแลบลิ้นพลัน (ซ้ำ)
  
หากพวกเรากำลังสบาย จงแอ๊ะแอ๋พลัน (ซ้ำ)

หากพวกเรากำลังสบาย จงเงียบเสียงพลัน


  • ในกรณีที่เด็กเสียงดังไม่ยอมฟัง ให้คุณครูเงียบเสียงและเอามือแตะอวัยวะส่วนใดส่วนหนึง เช่นแตะไหล่ เป็นการเรียกความสนใจกลับมาที่คุณครู




วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Experiences Management in Early Childhood Education )

อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี : 23 มกราคม 2560

เรียนครั้งที่ 1 เวลาเรียน 11:30 - 14:30

กลุ่ม 102 วันพุธ ห้องเรียน 34-301





     สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเรียนการสอน วันนี้อาจารย์แจกCourse -Syllabus และ อาจารย์ก็แนะนำแนวการเรียนการสอน บอกงานทั้งหมดที่ต้องทำในเทอมนี้ ทั้งงานกลุ่มและงานเดี่ยว พร้อมทั้งชี้แจงเกณฑ์การให้คะแนน 


จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงคื

จุดมุ่งหมาย

  1. ทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม
  2. ทักษะด้านความรู้
  3. ทักษะทางปัญญา
  4. ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
  5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. ทักษะการจัดการเรียนรู้
วัตถุประสงค์

    เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจอธิบายรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยรูปแบบการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวของหน่วยงานต่างๆ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย การจัดบรรยากาศในห้องเรียน การจัดตารางกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษา แนวทางจัดประสบการณ์และหน่วยการเรียนรู้ การบูรณาการเนื้อหาและประสบการณ์ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก การประเมินผลการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้นั้นนั้นๆ


พัฒนาการคือ ?

   พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้ง 4 ด้าน ที่เป็นไปตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีช่วงอายุเป็นตัวกำกับ และสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง


การทำงานของสมอง
  • สมองทำงานเหมือนฟองน้ำ ซึมซับความรู้และประสบการณ์อยู่ตลอดเวลา โดยการดูดซึมเกิดจากการลงมือกระทำ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
  • สมองทำงานตลอดเวลา เพราะร่างกายและประสาทสัมผัสบางอย่าง ยังทำงานอยู่ตลอดเวลา
การปรับความรู้ใหม่
  •   คนเรามีความรู้และประสบการณ์เดิมอยู่แล้ว เมื่อรับความรู้ใหม่เข้ามา ก็จะเกิดการปรับความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับความรู้เดิม จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการดำรงชีวิต

ทำไมเราจึงต้องรู้พัฒนาการเด็ก???
  • เพื่อที่เราจะได้สามารถจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
  • เพื่อใช้เป็นเกณฑ์วัดและประเมินผล

วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
  • การลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
                      ตา     =     ดู
                      หู      =     ฟัง
                      ลิ้น     =    ชิมรส
                      จมูก   =    ดมกลิ่น
                      กาย   =    สัมผัส
  • ความสนใจเกิดจากพัฒนาการ
            *การเรียนรู้โดยการเล่น เด็กสามารถเลือกได้อย่างอิสระ*